ความแตกต่างของ THC และ CBD
ในอดีต เมื่อมนุษย์รู้จักการสูบกัญชา พวกเขาก็เข้าใจว่ากัญชาทำให้ผ่อนคลายและ “เก็ทไฮ” ได้ตั้งแต่ยังไม่รู้จักสารของมัน
พอภายหลังรู้ว่ามีส่วนประกอบของ THC ก็เริ่มเข้าใจว่าสารนี้แหละทำให้ผ่อนคลาย และยังมีผลต่อระบบประสาท ทำให้เคลิ้ม มีอาการเพลิดเพลิน
แต่พอศึกษาไปอีก ก็พบว่ามีสาร CBD อีกตัว ที่ช่วยให้ผ่อนคลายเหมือนกัน แต่สารนี้ไม่ส่งผลให้ “เก็ทไฮ” แต่อย่างใด
ซึ่งพอยิ่งศึกษาต่อไปเรื่อยๆ
ทั้งการเพิ่มโดสของ CBD ให้มากขึ้นไปอีก ก็พบว่าเจ้าสารตัวนี้มันแทบไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายของมนุษย์
แต่ที่มีผลข้างเคียงมันคือ THC ทั้งอาการปากแห้ง กระหายน้ำ หัวใจเต้นเร็ว ตอบสนองช้า และมีอาการเมา ล้วนเป็นผลของการได้รับ THC ที่มากเกินไปแทบทั้งสิ้น แต่ก็ได้มาซึ่งความสุขจากการได้รับ THC
การพัฒนากัญชาเพื่อใช้ในทางการแพทย์
อาการเจ็บป่วยหลายๆ แบบนั้นสามารถบรรเทาได้ด้วยทั้ง THC และ CBD
โดยผมขอแบ่งเป็น 3 หมวดหมู่ให้เข้าใจง่ายๆ ได้แก่
1. อาการที่เฉพาะสาร THC ช่วยได้
เช่น อาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ กล้ามเนื้อกระตุก
2. อาการที่เฉพาะ CBD ช่วยบรรเท่าได้
ได้แก่ ไมเกรน ซึมเศร้า การอักเสบของกล้ามเนื้อ ต้อหิน ลมชัก และอาการทางจิต
3. อาการที่สารทั้ง 2 ช่วยได้เหมือนกัน เช่น ความเจ็บป่วย ความวิตกกังวล
เมื่อมีข้อมูลว่าสาร CBD ในกัญชานั้นมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย โดยเฉพาะไม่ทำให้มึนเมา และไม่ส่งผลต่อระบบประสาท
จึงนำไปสู่การพัฒนาสกัดสารดังกล่าวออกมาเพื่อใช้ในทางการแพทย์โดยเฉพาะ
อย่างล่าสุดช่วงเดือนมิถุนายน 2018 ที่ผ่านมา องค์การอาหารและยาของสหรัฐ ก็เพิ่งบรรจุให้สารสกัด CBD ยี่ห้อหนึ่ง สามารถบรรเทาอาการลมชักได้ด้วย
และหัวข้อที่สำคัญ จะไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือ…
แคนนาบินอยด์ กับการรักษาโรคมะเร็ง
ต้องบอกก่อนว่า การใช้กัญชาเพื่อรักษามะเร็งไม่ได้หมายถึง สูบกัญชาแล้วเซลล์มะเร็งหายไป
ตรงจุดนี้ยังไม่มีผลการศึกษาและรับรองอย่างแน่ชัด
แต่การฉายรังสีรักษามะเร็งที่เรียกกันว่า “คีโม” นั้น สร้างความเจ็บปวดให้ผู้ป่วยอย่างมาก
จึงมีการใช้ “น้ำมันกัญชา” หรือ “ยาพ่นกัญชา” เพื่อให้สาร CBD ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นโดยไม่เกิดความมึนเมา ไม่กระทบต่อระบบประสาทของผู้ใช้ในระยะยาวด้วยนั่นเอง
ส่วนการรักษามะเร็งโดยตรงนั้น ก็มีการศึกษาวิจัยเช่นกัน
แถมเป็นการใช้สารประกอบแคนนาบินอยด์ที่เรากล่าวถึงนี่แหละ
แคนนาบินอยด์ตัวนี้มีชื่อว่า Cannabigerol ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกับที่ให้ผลในเรื่องของการรักษาต้อหิน
การทดลองในแล็บพบว่า สารตัวนี้มีศักยภาพในการบำบัดโรงมะเร็งหลายชนิด
(ต้นฉบับนั้นยกตัวอย่าง มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งตับอ่อน มะเร็งผิวหนัง มะเร็งรังไข่ มะเร็งไต มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และมะเร็งลำไส้ใหญ่)
ซึ่งหากมีการวิจัยมากขึ้นในอนาคต อาจจะเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้สารประกอบตัวนี้
เพื่อก้าวขึ้นมาเป็นทางเลือกในการบำบัดมะเร็งได้ดีกว่าเดิม